นพ.สเปญ อุ่นอนงค์
http://www.infomental.com
โรคแพนิคเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้วแต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วย โดยที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือเป็นบ้า อาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลีย และในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก
อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยากแต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่นผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถก็จะไม่กล้าขับรถ บางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้าขึ้นสะพานลอย ผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียวหรือไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วย ในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้ เช่น การออกกำลังหนักๆ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้
ขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติและมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมาผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกัน ผู้ป่วยหลายๆ รายไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพโดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดและไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่า อาการแพนิค (panic attack) ซึ่งแปลว่า “ตื่นตระหนก” เราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่างๆจะคล้ายกับอาการของคนที่กำลังตื่นตระหนก ในโรคแพนิคผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุกระตุ้น และ คาดเดาไม่ถูก ว่าเมื่อไรจะเป็นเมื่อไรจะไม่เป็น การไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้น อาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานาน บางคนเป็นมาหลายปี เกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้ง แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักที บางคนเป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล "แทบไม่ทัน" แต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป "ทัน" ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย
ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าผู้ป่วยโรคแพนิคมีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการ “ตื่นตระหนก” โดยเป็น ความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท บางอย่าง เราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคนี้จะมี 2 กลุ่มคือ
1. ยาป้องกัน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเริ่มเห็นผลคืออาการแพนิคจะห่างลง และเมื่อเป็นขึ้นมาอาการก็จะเบาลงด้วย เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัว เช่น เล็กซาโปร (lexapro) โปรแซก (prozac) โซลอฟ (zoloft) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหาย ในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายทั้งยาป้องกันและยาแก้ เพราะในช่วงแรกๆยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆหยุดยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีก แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลง ในกรณีแบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆ
2. ยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เฉพาะเมื่อเกิดอาการขึ้นมา เป็นทีกินที กินแล้วหายเร็ว ได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยา “กล่อมประสาท” หรือยา “คลายกังวล” เช่น แวเลี่ยม (valium) แซแนก (xanax) อะติแวน (ativan) ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง (แปลว่าไม่มีพิษ ไม่ทำลายตับ ไม่ทำลายไต) แต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆ (2-3 สัปดาห์ขึ้นไป) จะเกิดการติดยาและเลิกยากและเมื่อหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา ซึ่งจะมีอาการเหมือนอาการแพนิค ทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าหายหรือยัง ดังนั้นแพทย์จะเน้นกับผู้ป่วยว่าให้กินเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ยังไม่เป็นห้ามกิน รอให้เริ่มมีอาการแล้วค่อยกินก็ทันเพราะมันออกฤทธิ์เร็ว
สาเหตุ
มีปัจจัยหลายประการที่อาจประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น
1. ศูนย์ควบคุมการทำงานของสมองและจิตใจเกี่ยวกับความหวาดกลัวไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ
2. กรรมพันธุ์ โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัวเดียวกัน
3. การมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นครั้งแรก อาจมีความสัมพันธ์กับความตึงเครียดในชีวิต โรคทางอายุรกรรม หรือสารยาบางตัว บางรายอาจไม่มีสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เลยและ ถึงแม้ว่า สิ่งกระตุ้นได้หมดไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นต่อไป
คำแนะนำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง สิ่งที่ควรทำ
1. ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ
2. โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว
3. ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา
4. ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
5. ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
6. ออกกำลังกายตามสมควรตามความสามารถ
7. เมื่ออาการต่าง ๆ ทุเลาแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว และลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยง โดยเริ่มทีละเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ
8. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด
การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย
1. นอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ
2. มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่
3. สูดลมหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่ผ่านรูจมูกเข้าไปลึกเต็มที่จนหน้าท้องขยายขึ้นรู้สึกได้จากการที่มือทั้งสองถูกยกขึ้นช้า ๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น
4. เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
5. ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ พร้อมทั้งสังเกต และจดจ่อที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้องแฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง
6. เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
7. เริ่มหายใจเข้าและหายใจออกสลับกันไป เป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
8. เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดยพิงเก้าอี้ตามสบาย มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้อง วิธีการเหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงาย ทุกประการ
ดาราเกาหลีก็เป็นได้นะจ๊ะอย่างเช่น จอนจิน (Shinhwa) ทรมานกับการเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder)
จอนจิน (Jun Jin) หนึ่งในสมาชิกวงชินฮวา (Shinhwa) ได้ต่อสู้กับความกดดัน และเข้ารับการบำบัดมาเป็นเวลา 1 ปีครึ่งแล้ว และจากนั้นมา เขาได้เป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) โรคที่มีอาการตื่นตระหนกเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุกระตุ้น
"เมื่อกลับบ้านหลังจากการทำงาน ผมรู้สึกกลัวว่าจะถูกทำร้ายโดยใครสักคนด้วยดาบไม้ และไม้เบสบอล กรณีที่หนักๆจะเป็นว่า ผมกลัวว่าเวทีจะทรุดลงในขณะที่ผมกำลังขึ้นแสดง ผมจึงต้องพยายามลืมมันโดยการตั้งหน้าตั้งตาเต้น แต่ผมสามารถผ่านพ้นโรคแพนิคได้ เพราะว่าครอบครัวของผม และเพื่อนๆสมาชิกวงชินฮวา" จอนจินกล่าวเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เขาได้รับ จากการเป็นโรคแพนิค
จอนจินกล่าวว่า เมื่อเขาอายุ 19 ปี เขามีความพิการทางจิตใจ (Phychological Trauma)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น