โดย นพ.สุรชัย เกื้อศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย และภาวะ ซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป
ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า อาการที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบภาวะ
1.ซึมเศร้าหรืออารมณ์ตก
- ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า
- เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา
- อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน
- ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรงในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา
- หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ
- มองโลกในแง่ร้ายไปหมด
- ขาดสมาธิ ความจำลดลง
- หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้
- ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม
- มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ
- มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ
- มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
- มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
- มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนานร่าเริงและก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
- ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถ ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้และชอบวิจารณ์ผู้อื่น มากขึ้น เอาแต่ใจ
- มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
- ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
- ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการ พูดเร็วและมีเนื้อหามาก เสียงดัง
- ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
- ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น หรือแสดงออกแบบเกินตัว
- มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์และโรคอารมณ์เศร้า
ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major depressive disorder หรือ Unipolar depression) แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว
ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression) มักมีลักษณะอาการต่อไปนี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ
1. มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง
2. มีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลง
3. นอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้น
4. ขาดกำลังใจ มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์
5. มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริง
6. มีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย
7. มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
8. มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มองว่าบุคคลอื่นไม่สนใจหรือไม่เป็นมิตร
9. มีประวัติการติดสารเสพติด หรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
10. มีประวัติโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว
มีความจำเป็นอย่างมากในการแยกภาวะซึมเศร้าในโรคทั้งสองโรคออกจากกัน เพราะการดำเนินโรค ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันก็ต่างกันการรักษาภาวะ ซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ การรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยา การดูแลด้านจิตใจ การปรับพฤติกรรมตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการรักษากับผู้ป่วยและญาติยังไม่มียารักษาอาการเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ถ้าจำเป็นต้องใช้ยารักษาอาการเศร้า ควรลดขนาดยาลงเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้วและหยุดในที่สุด ควรระมัดระวังการเหวี่ยงกลับไปเป็นแมเนีย อย่างรวดเร็ว หรือเกิด rapid cycling ถ้าผู้ป่วยได้รับยาคงสภาพอารมณ์ที่มีฤทธิ์ต้านซึมเศร้าอันได้แก่ Lithium และ Lamotrigine อยู่ก่อนแล้ว ควรปรับขนาดขึ้นให้เพียงพอ .
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น